เมื่อขี้แมลงวันมาเยือน : โดย แพทย์แพน

หน้าหลัก » บทความสุขภาพ » ผิวพรรณทั่วไป » เมื่อขี้แมลงวันมาเยือน : โดย แพทย์แพน
ขี้แมลงวัน (Mole) จุดเล็กๆ สีน้ำตาลเข้มที่ขึ้นอยู่ตามร่างกาย มองดูไม่มีพิษสงอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุของการเกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนหนึ่งก็มาจากจุดเล็กๆ ที่ว่านี้
 
ลองสำรวจผิวหนังตามร่างกายดูสิคะ แล้วจะพบว่า ผิวของคนเราจะมีจุดด่างดำ เช่น ไฝ ขี้แมลงวัน (Mole) อยู่บ้างไม่มากก็น้อยแต่ทุกคนต้องมี บางคนถ้านับดูแล้วอาจมีมากกว่า 40 แห่งด้วยซ้ำ คนส่วนใหญ่มักคิดว่าขี้แมลงวันเป็นแค่จุดเล็กๆ สีน้ำตาลที่ขึ้นอยู่ตามร่างกาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันสามารถขยายขนาดได้
 
บางคนคิดว่าขี้แมลงวันที่เกิดขึ้นบนแก้มของผู้หญิงนั้นเป็นแฟชัน ดูเก๋ไก๋ ดูเย้ายวน หรือที่เรียกกันว่า ใฝเสน่ห์ แต่หารู้ไม่ว่า ถ้าสังเกตดีๆ ขนาดของมันอาจจะใหญ่ขึ้นๆ สีเข้มขึ้น บางครั้งจะพบเส้นขนร่วมด้วย ให้พึงระวังไว้ด้วยว่า นั่นคือสิ่งที่จะนำมาซึ่งอันตรายต่อร่างกายเรา
 
ขี้แมลงวัน สามารถพบได้ทุกที่ตามร่างกาย อาจจะมีจุดเดียวหรือเป็นกลุ่ม ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ส่วนใหญ่จะพบเป็นสีน้ำตาล มักพบได้มากในช่วงอายุ 20 ปี แต่บางคนอาจจะพบหลังจากนั้นก็ได้ โดยเฉพาะถ้าผิวส่วนนั้นต้องสัมผัสกับแดดมากๆ มันก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นได้อีก
 
ขี้แมลงวันแต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตอย่างเป็นลักษณะเฉพาะตัว (Pattern) ของมันเอง แรกๆ อาจพบขี้แมลงวันมีลักษณะแบน สีชมพู สีน้ำตาลหรือสีดำ ลักษณะจะคล้ายๆ กระ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ขนาดจะใหญ่ขึ้นๆ หรือมีขนงอกขึ้นร่วมด้วย จากนั้น ขนาดของมันจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ อาจมีการยกตัวนูนสูงขึ้น มีลักษณะเป็นกิ่ง สีจางลงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยก็มี จึงดูเหมือนว่ามันจางหายไป ซึ่งลักษณะอาการเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งอายุ 50 ปี
 
ขี้แมลงวันบางชนิดจะมีสีดำมากขึ้นเมื่อโดนแดดหรือในระหว่างช่วงวัยรุ่น การรับประทานยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ ก็มีผลทำให้ขนาดของมันใหญ่ขึ้นและมีสีเข้มมากขึ้นด้วย แต่สิ่งที่คนเรากลัวกันก็คือ เมื่อมันเกิดมาแล้วมันจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของคนเราหรือไม่ นั่นก็หมายความว่า มันอาจจะทำให้เกิดมะเร็ง (Malignant melanoma) ก็ได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไร และควรทำอย่างไร วิธีสังเกตก็คือ
 
1.ถ้าพบว่าขี้แมลงวันมีขนาดใหญ่มาก มีผิวขรุขระ โดยเฉพาะถ้าโดนแสงแดดร่วมด้วย โอกาสที่จะเกิดมะเร็งผิวหนังก็มีสูง
 
2.ถ้าขี้แมลงวันนั้นเป็นมาตั้งแต่กำเนิด (Congenital nevi) และมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ใหญ่กว่าปกติ (Dysplastic nevi or atypical moles) อาจจะโดกว่ายางลบดินสอ
 
3.ขนาดของจุดที่เราพบสีผิวจะไม่เท่ากัน และในแต่ละจุดสีจะไม่เรียบเสมอกัน 
 
ถ้าหากพบลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล้วหรือไม่แน่ใจก็ควรไปปรึกษาแพทย์ แต่หมอคิดว่าไม่ว่าจะเป็นจุดอะไรก็ตามที่ขึ้นตามใบหน้าหรือลำตัวก็ควรจะสังเกตไว้ก่อน ถึงแม้ว่าไม่ค่อยสนใจในเรื่องความสวยความงามมากนัก แต่ถ้ามันเกิดเป็นโรคที่ร้ายแรงขึ้นมาจะได้รีบรักษาแต่เนิ่นๆ แม้ว่าโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังของคนในบ้านเมืองเราจะยังมีเปอร์เซ็นต์การเกิดน้อยอยู่ก็ตาม
 
แต่สำหรับผู้ที่ต้องการกำจัดออก ก็สามารถทำได้เนื่องจากมีเทคโนโลยีในการรักษาที่เจริญก้าวหน้าขึ้นมาก มีตั้งแต่การใช้ยาอย่างเดียว การใช้ยาร่วมกับการกำจัดออกด้วยเลเซอร์ สำหรับเลเซอร์ที่ใช้กำจัดขี้แมลงวันนั้นก็มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน เช่น Co2-lasers , Erbuim , ND-yag , Ruby ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะรอยที่เกิดและประสบการณ์ของแพทย์ที่ทำการรักษา ล่าสุดมีการใช้แสง Intense Pulse light (IPL) (ลักษณะของแสงจะคล้ายๆ แสงเลเซอร์ แต่ใม่ไช่เลเซอร์) ช่วยในการรักษา ซึ่งการรักษาดังกล่าวแผลก็จะหายเร็ว ผลข้างเคียงน้อยมาก แทบจะไม่มีรอยแผลปรากฏให้เห็นเลย ตอนยิงแสงจะแค่รู้สึกร้อนๆ นิดหน่อยเท่านั้น
 
 
**สนใจและต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถปรึกษาแพทย์ที่แพนคลินิกทุกสาขา

จำนวนเข้าชม 61906 ครั้ง | หมวด ผิวพรรณทั่วไป | บทความโดย : Webmaster | เมื่อ : 10 กันยายน 2558, 17:21:48

Health Tips Recommend

บทความโดย แพนคลินิก | 1725 views
บทความโดย ศิริรัตน์ | 36 views